วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



                 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล                                                         

1.ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งไฟฟ้า” (Father of Electricity) ฟาราเดย์เกิดที่กรุงลอนดอน บิดาเป็นช่างตีเหล็กที่ยากจน เขาจึงได้เรียนหนังสือเพียงชั้นประถมก็ต้องออกมาทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ เมื่อเจ้าของร้านเห็นความขยันขันแข็งจึงเลื่อนขั้นให้เขาเป็นเด็กเย็บปกหนังสือ เขาจึงมีโอกาสได้อ่านหนังสือหลากหลายประเภท กระทั่งได้อ่านหนังสือเคมีของ เจน มาร์เซต (Jane Marcet) และเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในสารานุกรม บริตเทนนิกา (Encyclopedia Britannica) เขาจึงเกิดความฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ ต่อมาก็ได้เป็นผู้ช่วยวิจัยของ ฮัมฟรี เดวี (Sir Humphry Davy) ในช่วงนี้เขาได้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ด้วยความขยัน และช่างจดจำข้อมูลได้เป็นอย่างดี เขาจึงได้เลื่อนขั้นเป็นเลขานุการของเดวี เขาได้เดินทางไปพบปะกับนักวิทยาศาสตร์หลายคน 


ภายหลังเขาก็ได้ขึ้นแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับวิชาเคมี ในปี 2376 เขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาเคมีประจำราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ไม่นานเขาก็ได้ทำงานวิจัยของตนเอง โดยมีความสนใจเรื่องไฟฟ้าเป็นพิเศษ จนในที่สุดก็ค้นพบ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) จากนั้นก็ได้ประดิษฐ์ "ไดนาโม” (Dynamo) ต้นแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในปัจจุบัน นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ค้นพบสารประกอบ เบนซิน” (Benzene) นำเหล็กและนิกเกิลมาผสมกันจนได้โลหะชนิดใหม่ที่เหนียวและไม่เป็นสนิมเรียกว่า สแตนเลส” (Stainless) และได้บัญญัติศัพท์ทางไฟฟ้าหลายคำ เช่น "ไออน” (lon) หมายถึงประจุ "อิเล็กโทรด” (Electrode) หมายถึงขั้วไฟฟ้า "คาโทด” (Cathode) หมายถึงขั้วลบ "แอโนด” (Anode) หมายถึงขั้วบวก เป็นต้น



ในบั้นปลายชีวิตฟาราเดย์ประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียงและเงินทอง แต่เขาก็ยังคงทำงานค้นคว้าทดลองจนกระทั่งร่างกายไม่เอื้อ เขาลาออกจากราชบัณฑิต ล้มป่วยและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2410 ขณะอายุได้ 76 ปี ต่อมาได้มีการเรียกหน่วยวิทยาศาสตร์ของความจุซึ่งเป็นความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้ว่า "ฟาราด” (Farad) เพื่อเป็นเกียรติแก่ไมเคิล ฟาราเดย์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.ลพ บุรีรัตน์ นักแต่งเพลงลูกทุ่ง ผู้แต่งเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับ พุ่มพ่วง ดวงจัทร์ เช่นเพลง "สาวนาสั่งแฟน" "อื้อฮือหล่อจัง" "กระแซะเข้ามาซิ" "ดาวเรืองดาวโรย" "นัดพบหน้าอำเภอ" ได้รับการยกย่องเป็น ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2548 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ






3.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์   เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น ศิลปืนแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ.2554 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ




4.โจแอนน์ "โจ" โรว์ลิ่ง หรือที่รู้จักในนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิ่ง  ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 1990 ขณะที่เธออยู่บนรถไฟระหว่างสถานีแมนเชสเตอร์ และคิงส์ครอสในลอนดอน โจแอนก็แว่บความคิดเกี่ยวกับเด็กกำพร้าผู้ค้นพบว่าเขาคือพ่อมด เธอรีบตรงกลับบ้านและบันทึกความคิดนี้ลงบนกระดาษทันที และนี่คือจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในหกปีต่อมา 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ



5.เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล บิดาทางพันธุศาสตร์ เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน สอนนักเรียน ถึงเรื่องพันธุ์กรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและ อเมริกาในปีต่อมาคือปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนัก ชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดอฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอร์เรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์




แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ทางธรรมชาติ

1.น้ำตกเจ็ดสาวน้อย น้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีต้นน้ำมาจากผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  มีลักษณะเป็นน้ำตกเตี้ยๆ  จำนวน  7  ชั้น  แต่ละชั้นสูงประมาณ  2 – 5 เมตร  สายน้ำไหลลดหลั่นเป็นธารน้ำตกกว้าง ขนาดใหญ่  มีแอ่งน้ำตื้นๆ  หลายแห่งให้ลงเล่นน้ำได้
กระแสน้ำระหว่างชั้นที่ 3 ต่อ ชั้นที่ 4 เรียกได้ว่าเป็น จุดสุดยอด จุดหนึ่ง ที่จะกระชากความตื่นเต้นให้กระโจน ไปตามสายน้ำที่ไหล จากที่สูงลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ให้เราได้ปลดปล่อย เสียงกรีดให้สุดเสียง ละอองน้ำที่สาดกระจาย ช่วยให้ความร้อน กระจายไปคนละทิศละทางทีเดียว        น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมาแต่อดีต  เพราะการเดินทางที่สะดวก    และยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไว้บริการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม



2.แกรนด์แคนย่อน   แกรนด์แคนยอนถือเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอนุรักษ์สถาน ของโลกโดยตามสภาพภูมิศาสตร์และการลงมติของสหประชาชาติ แกรนด์แคนยอนเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของแม่น้ำโคโลราโด ไหลผ่านที่ราบสูงทำให้เกิดการสึกกร่อน พังทะลายของ หินเป็นเวลา 225 ล้านปีมาแล้ว เดิมทีแม่น้ำโคโลราโดมีสภาพเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลคดเคี้ยวไป ตามที่ราบกว้าง ใหญ่ที่อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเล ต่อมาพื้นโลกเริ่มยกตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากแรงดันและความร้อนอันมหาศาล ภายใต้พื้นโลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปและกลายเป็นแนวเทือกเขากว้างใหญ่ การยกตัวของแผ่นดินทำให้ทางที่ ลำธารไหลผ่านลาดชันขึ้นและทำให้น้ำไหลแรงมากขึ้น พัดเอาทรายและตะกอนไปตามน้ำเกิดการกัดเซาะลึกลง ไปทีละน้อยในเปลือกโลก วัดจากขอบลงไปก้นหุบเหวกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1,600 เมตร) และอาจลึกว่าสอง เท่าของความหนาของเปลือกโลก ก่อให้เกิดหินแกรนิต หินชั้นแบบต่างๆพื้นดินที่เป็น หินทรายถูกน้ำ และลม กัดเซาะ จนเป็นร่องลึกสลับซับซ้อนนานนับล้านปี เป็นแคนยอนงดงามน่าพิศวงเนื่อง จากผลของดินฟ้าอากาศ ความร้อนเย็นซึ่งมีอิทธิพลรอบด้าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม



3.บึงน้ำโอเซ (Oze)  เป็นบึงน้ำที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลก ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาฮิอุจิ (Mt.Hiuchi) ภูเขาชิบุทสึ (Mt.Shibutsu) และเทือกเขาอื่นที่สูงกว่า 2,000 เมตร ทางเหนือสุด สวยงามด้วยไม้ดอกธรรมชาติในฤดูร้อน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ






4.หุบเขาเทนริว (Tenryuukyoo) หุบเขาเทนริว ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในวนอุทยานแห่งชาติเทนริวโอคุมิคะวะ (Tenryuu Okumikawa)เป็นหน้าผาสูงที่เหมาะแก่การชมใบไม้แดง โดยการล่องเรือไปตามสายน้ำมังกรสวรรค์ท่ามกลางทัศนียภาพอันงดงามแปลกตา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา 
และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


5.ทุ่งดอกบัวตอง อยู่ในพื้นที่เขตวนอุทยานทุ่งบัวตอง บ้านแม่อูคอ หมู่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สุรินทร์ อยู่บนภูเขาสูงประมาณ 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยามเบ่งบานดอกบัวตองจะออกดอกสีเหลืองสว่างไสวแซมสลับกับต้นสนสามใบครอบคลุม พื้นที่กว่า 500 ไร่ ส่วน เวลาที่สวยงามที่สุดของการดูดอกบัวตองนั้น ควรดูในตอนเช้าเมื่อแสงแรกของวันสาดส่องเพราะสีทองของดอกจะเปล่งประกายเป็น ทองมากกว่าเวลาอื่นใด

ดอกบัวตอง เป็นดอกไม้ป่าชนิดหนึ่งหากมองผิวเผินอาจเข้าใจว่าเป็นดอกทานตะวัน ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า ทานตะวันป่า หรือทานตะวันดอก แต่ทางภาคเหนือจะเรียกว่า บัวตอง เป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งเลื้อยสูง 3 เมตรหรือมากกว่า เปลือก ลำต้น กิ่ง มีสีน้ำตาล ใบเป็นรูปไข่ มีแฉกตามขอบใบ 4 แฉก กลีบมีสีเหลือง ชอบขึ้นในพื้นที่มีอากาศเย็น โดยจะออกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นธันวาคมเท่านั้น พันธุ์ไม้ชนิดนี้เดิมเป็นไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ แต่นำมาปลูกในเมืองไทยจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม 


แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น

1.โคอิชิกาว่า โคระกุเอ็น (Koishikawa Korakuen) เป็นสวนสไตล์ญี่ป่นที่เก่าแก่ที่สุดและดีที่สุดในญี่ปุ่น โดยสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยต้น ๆ ของยุคอิโด โดยเปิดให้เยี่ยมชมตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น. และจะปิดในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม – 1 มกราคมของทุกปี
ซึ่งนักท่องเที่ยวจะหนาแน่นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงของใบไม้เปลี่ยนสี, ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีเทศกาลลูกพลัม และในช่วงที่ดอกซากุระบาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ



2.ปราสาทโอซะกะ  เป็นจุดเด่นของเมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นปราสาทที่มีชื่อเสียง ทั้งยังเป็นจุดชมวิวที่เป็นที่นิยม และเป็นสัญลักษณ์ของโอซะกะ ปราสาทนี้ประกอบขึ้นด้วยโครงสร้าง 13 อย่างที่รัฐบาลญี่ปุ่นระบุให้เป็นทรัพย์สมบัติสำคัญในทางวัฒนธรรม สิ่งที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ ประตูขนาดใหญ่และและป้อมปราการที่อยู่ตามคูกำแพงเมืองรอบนอก กำแพงสูงชันที่สูงเกือบถึง 30 เมตร นั้นทำมาจากก้อนหินขนาดใหญ่ซึ่งส่งเข้ามาในโอซะกะจากเหมืองที่อยู่ห่างออกไปมากกว่า 100 กิโลเมตร ความสูงของกำแพงและความกว้างของคูกำแพงเมืองที่เห็นนั้นไม่สามารถเทียบได้กับปราสาทอื่นๆได้ญี่ปุ่นได้เลย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ



3.กำแพงเมืองจีน เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกฮันส์ หรือชนเผ่า ซยงหนู (Xiongnu) ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ  ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวก ซยงหนู เข้ามารุกราน และพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
    สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ว่า นักโบราณคดี ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


4.วังนารายณ์ราชนิเวศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างเมื่อพ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41ไร่ สำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อน ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงโปรดประทับ 8-9 เดือนในแต่ละปี ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2231 เมืองลพบุรีจึงถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 4)โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.2399  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม 


5.สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์ น้ำเค็มโดยความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลญี่ปุน มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้มีจุดประสงค์ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในจัดแบ่งเป็น 3 ส่วน คือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และ ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น