วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดเรื่องทฤษฎีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้

1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์ 
          การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจ เข้าใจ  ในเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้นิสิตเกิดความอยากเรียนอยากศึกษาหาความรู้มากขึ้น

2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด 
                   จัดอยู่ในองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะมีการพูดถึงการจัด โต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งของที่กล่าวมานี้อยู่ในสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 
          1.องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ คือ มีอุปกรณ์จำพวกโต๊ะ เก้าอี้
           2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ   คือ ครูผู้สอนสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยที่ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่    3.องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม คือ การแต่งกาบชุดนิสิตให้สุภาพ
          4.องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  คือ การใช้ Power point งาน
 e-leaning


4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย 
               1. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกายภาพ   คือ จัดห้องเรียนให้กว้างขว้าง สะดวกต่อการทำการทดลอง โต๊ะและเก้าอี้ควรจะจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ครบถ้วน มีตู้สำหรับเก็บอุปกรณ์ของนักเรียนที่แยกออกจาโต๊ะทำการทดลอง มีป้ายนิเทศเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
                2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพ คือทักทายด้วยความเป็นกันเอง ยิ้มเยิ้มเวลาสอน
                3. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านสังคม คือ ตั้งกฎและข้อห้าม เช่นไม่นำสารเคมีออกมาเล่น ไม่นำสารเคมีออกจากห้องปฏิบัติการ
               4. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  คือ  ให้นักเรียนส่งผลแลปทางอีเมล

5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มี  ดังนี้
          1.แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอนคล้องกับนโยบายนั้นๆ
          2.แนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาอันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
          3.แนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสารเนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
            4.แนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
          5.แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น